5 สัญญาณเตือน ปวดหัวไมเกรน พร้อมวิธีรักษา (ให้หายขาด!)

  •  06 พ.ย. 67

ปวดหัวไมเกรน เป็นอาการที่หลายคนคงเคยประสบ อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ปวดหัวข้างเดียว หรือปวดตุบๆ ที่รบกวนชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมาก บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุ อาการ และสัญญาณเตือนของ โรคไมเกรน พร้อมวิธีรับมือและป้องกันไม่ให้อาการกำเริบอีกต่อไป

ไมเกรน คืออะไร

ไมเกรน (Migraine) เป็นอาการปวดศีรษะที่มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง รวมถึงการบีบและคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากเกินไป อาการนี้มีผลทำให้เกิด ปวดศีรษะ แบบตุบๆ พร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสงและเสียง

สาเหตุปวดหัวไมเกรน

สาเหตุนั้นยังไม่แน่ชัด แต่นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่านเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงสารเคมี ฮอร์โมน และสิ่งกระตุ้นจากภายนอก บางครั้งเพียงแค่เครียดหรือเหนื่อยล้าก็อาจทำให้อาการไมเกรนกำเริบได้

5 สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นไมเกรน

1. ปวดศีรษะแบบตุบๆ: ลักษณะเฉพาะของการปวดศีรษะไมเกรนคือการปวดตุบๆ บริเวณข้างเดียวของศีรษะ

2. ไวต่อแสงและเสียง: ความรู้สึกไวต่อแสงและเสียงจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน อาจทำให้ต้องอยู่ในที่เงียบและมืดเพื่อผ่อนคลาย

3. คลื่นไส้หรืออาเจียน: การรู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนเป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่อปวดไมเกรน

4. เห็นแสงวูบวาบหรือภาพเบลอ: บางคนจะเห็นแสงวูบวาบหรือภาพเบลอก่อนอาการปวดหัวจะเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า “Aura”

5. ชาและรู้สึกเสียวซ่าน: อาการชาและรู้สึกเสียวซ่านในบริเวณใบหน้าหรือมือ เป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่าคุณอาจกำลังมีอาการไมเกรน

ระยะของไมเกรน

อาการไมเกรนมีหลายระยะ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

1. ระยะ Prodomal: ระยะที่เริ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เช่น ความเหนื่อยล้า ความหิว หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง

2. ระยะ Aura: เป็นระยะที่บางคนจะรู้สึกถึงการเห็นภาพเบลอ เห็นแสงวูบวาบ หรืออาการชา

3. ระยะ Headache: ระยะที่มีอาการปวดศีรษะซึ่งอาจนาน 4-72 ชั่วโมง และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้และไวต่อแส

4. ระยะ Postdromal: ระยะหลังปวดหัว ซึ่งมักรู้สึกอ่อนเพลีย อาการปวดจะค่อยๆ หายไป

ข้อแตกต่างระหว่างปวดศีรษะปกติกับปวดศีรษะไมเกรน

ปวดศีรษะปกติ: มักเกิดจากความเครียดหรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ลักษณะการปวดคือปวดทั้งสองข้างของศีรษะ ไม่รุนแรงมาก และไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

ปวดศีรษะไมเกรน: มักปวดตุบๆ ข้างเดียวของศีรษะ อาการมักรุนแรง และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง

วิธีการรับมือ เมื่อปวดไมเกรน

1. พักผ่อนในที่เงียบและมืด: ช่วยลดอาการไวต่อแสงและเสียง และทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น

2. ประคบเย็นบริเวณหน้าผาก: การประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะและความอักเสบได้

3. นอนหลับให้เพียงพอ: การนอนหลับที่เพียงพอและเป็นเวลาเป็นปัจจัยสำคัญในการลดอาการไมเกรน

4. การทำสมาธิ: ช่วยลดความเครียดที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการไมเกรนกำเริบ

5. ยาแก้ปวดหัวไมเกรน: สามารถใช้ยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อลดอาการปวดศีรษะ

ไมเกรนเรื้อรัง

ไมเกรนเรื้อรังเป็นอาการไมเกรนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือบ่อยครั้ง จนมีผลต่อคุณภาพชีวิต คนที่มีอาการไมเกรนเรื้อรังควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การรักษาอาจรวมถึงการรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ การปรับพฤติกรรม และการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

อาหารต้องห้ามสำหรับคนเป็นไมเกรน

อาหารบางชนิดสามารถกระตุ้นอาการไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์ ผงชูรส ชีส ไส้กรอก และอาหารที่มีคาเฟอีน การหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดไมเกรนได้

ปรับพฤติกรรม บรรเทาอาการไมเกรน

1. ลดการใช้สมองอย่างหนัก: การทำงานหนักเกินไปหรืออยู่ในสภาวะเครียดสูงจะกระตุ้นอาการไมเกรน

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายช่วยให้เลือดไหลเวียนดีและลดการเกิดไมเกรน

3. กินอาหารที่มีประโยชน์: การทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง เช่น ผักและผลไม้ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดโอกาสการเกิดอาการไมเกรน

อาการปวดหัวไมเกรน อาจจะไม่ใช่อาการร้ายแรง แต่สามารถสร้างความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพและปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการเรื้อรัง หรือเกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยไว้ พบแพทย์เพื่อปรึกษาได้เลยที่ SOROT Clinic ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและรักษาอาการไมเกรนได้อย่างถูกจุด เพื่อให้คุณไม่ต้องทนทรมานกับอาการปวดหัวไมเกรนอีกต่อไป

 

อ้างอิงจาก

  • https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/migraine

  • https://www.praram9.com/migraine/ 

  • https://www.vimut.com/article/migraine-causes-treatment

  • https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ไมเกรน-อาการปวดหัวสุดกว/

  • Image by diana.grytsku on Freepik